การทำหมันแมว ไม่ว่าจะตัวผู้หรือตัวเมีย ก็ยังถือเป็นการผ่าตัดเล็กอยู่ดี ถ้าน้องเหมียวสุดที่รักเพิ่งผ่านการผ่าตัดทำหมันมา (ทำหมันแมวตัวเมียเรียก spayed ตัวผู้เรียก neutered) และเจ้าของกำลังกังวลใจอยู่ว่าจะควรดูแลอย่างไรจึงจะเหมาะสม บทความเรื่องการทำหมันแมวนี้มีหลายเรื่องที่สามารถช่วยดูแลให้น้องแมวฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้นได้ รวมถึงกลับมาสุขภาพแข็งแรง มีความสุขร่าเริงตามเดิม

การทำหมันแมว คืออะไร

การทำหมันแมว คือ การคุมกำเนิดในแมว หากเป็นตัวเมียจะใช้วิธีตัดรังไข่และมดลูกออก ส่วนในตัวผู้จะเป็นการตัดท่อนำอสุจิและอัณฑะออก นอกจากจะเป็นการช่วยควบคุมจำนวนประชากรแมวแล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ในช่วงที่น้องแมวเป็นสัดอีกด้วย

การทำหมันแมวถือเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่เลี้ยงแมว และเป็นสิ่งที่ควรทำ เนื่องจากการทำหมันแมวนั้นมีประโยชน์หลายอย่างดังต่อไปนี้

  • ช่วยคุมกำเนิด เพื่อควบคุมประชากรของแมว เพราะแมวตัวเมียสามารถตั้งท้องได้สูงสุดถึง 3 ครั้งต่อปี
  • ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การติดสัด นิสัยก้าวร้าว การปัสสาวะเรี่ยราด (สเปรย์ฉี่) เป็นต้น
  • ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ อย่างโรคมะเร็งรังไข่ มดลูกอักเสบ มะเร็งอัณฑะ หรือโรคติดต่อจากแมวตัวอื่นๆ
  • แมวจะออกจากบ้านน้อยลง ซึ่งก็จะช่วยช่วยลดปัญหาแมวหายหรือประสบอุบัติเหตุ

อายุที่เหมาะสมในการทำหมันแมว

โดยปกติแล้วช่วงอายุที่แมวเริ่มมีอาการฮีทหรือติดสัดนั้น จะแตกต่างกันออกไปในแมวแต่ละตัว รวมถึงเพศด้วย แต่ถ้าหากพูดโดยรวม อาจบอกได้ว่าแมวตัวเมียนั้นมักเริ่มมีอาการฮีทก่อนแมวตัวผู้ โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ตั้งแต่อายุประมาณ 5-7 เดือนเป็นต้นไป ส่วนแมวตัวผู้นั้นมักเริ่มมีอาการฮีทตั้งแต่ช่วง 9-12 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจแตกต่างกันไปในแมวแต่ละตัว แนะนำว่าให้คุณคอยสังเกตอาการของอย่างใกล้ชิดว่าเจ้านายตัวน้อยมีอาการฮีทแล้วหรือยัง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการร้องเสียงดัง หงุดหงิด หนีออกจากบ้าน หรือการขับถ่ายไม่เป็นที่นั่นเอง

ในการทำหมันแมวนั้นสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นลูกแมวอายุ 6-8 เดือนขึ้นไป แต่ก่อนจะทำหมันควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน เพราะแต่ละสายพันธุ์ พันธุกรรม และการเลี้ยงดู รวมถึงการให้วัคซีน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายที่เกิดจากการทำหมัน

การทำหมันจะทำให้ระบบเผาผลาญของแมวทำงานน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้แมวมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง จนทำให้แมวมีน้ำหนักมากขึ้น แต่เจ้าของก็ยังสามารถใช้วิธีคุมอาหารและหมั่นพาน้องไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้น้องแมวประสบกับปัญหาโรคอ้วนได้

  • แมวตัวผู้

เชื่อว่าทาสแมวอาจจะเคยได้ยินมาว่าการทำหมันแมวสำหรับน้องแมวตัวผู้นั้น ควรพาไปทำหมันตอนที่อายุครบ 12 เดือนเป็นต้นไป เพื่อช่วยป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ในภายหลัง เช่นอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น น้องแมวตัวผู้สามารถเข้ารับการทำหมันได้ตั้งแต่อายุยังไม่ครบ 12 เดือน แต่มีข้อแม้ว่าน้องแมวจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงอัณฑะของน้องแมวทั้งสองข้างจะต้องลงมาในถุงอัณฑะอย่างสมบูรณ์แล้ว หากทาสยังไม่แน่ใจว่าน้องแมวที่บ้านสามารถทำหมันได้หรือยัง ก็สามารถพาน้องแมวมาตรวจสุขภาพและตรวจร่างกายเพื่อเช็กความพร้อมก่อนทำหมันได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ แต่ถ้าหากน้องแมวตัวผู้ไม่มีอาการฮีทจนถึงอายุ 1 ปี ก็สามารถพาไปทำหมันได้เลย

  • แมวตัวเมีย

สำหรับการทำหมันแมวตัวเมียนั้นถือว่าซับซ้อนน้อยกว่าการทำหมันแมวตัวผู้ เพราะว่าสามารถพาแมวตัวเมียไปทำหมันได้ตั้งแต่อายุ 3-5 เดือน หรือสังเกตจากน้ำหนักตัวของแมวก็ได้ หากแมวตัวเมียมีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแล้ว ก็ถือว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดทำหมันได้อย่างปลอดภัย แต่ข้อควรระวังในการทำหมันแมวตัวเมียก็คือ จะต้องไม่ทำหมันในช่วงที่แมวมีอาการฮีท เพราะเป็นช่วงที่มดลูกมีการขยายตัว จะทำให้เกิดอาการเสียเลือดมากได้ ดังนั้นหากน้องแมวตัวเมียที่บ้านฮีทหนักมาก ก็ขอให้รอจนหายฮีทเสียก่อน แล้วค่อยนำเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและดำเนินการทำหมันในขั้นต่อไป

การเตรียมตัวก่อนการทำหมัน

ก่อนจะพาแมวไปทำหมัน ควรพาไปเช็กร่างกายก่อนว่ามีสุขภาพดี สามารถผ่าตัดได้หรือไม่ หากสามารถทำได้คืนก่อนจะพาไปทำหมันก็ควรให้แมวงดน้ำและอาหารก่อนประมาณ 8-12 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีเศษอาหารตกค้าง และเกิดอันตรายระหว่างการผ่าตัดได้

สำหรับเรื่องของค่าใช้จ่ายในการทำหมันแมวนั้นต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการวางยาสลบ รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ทาสแมวจะต้องรู้เกี่ยวกับการทำหมันแมวราคาต่างๆ ก็คือเรื่องของวิธีวางยาสลบก่อนทำหมันน้องแมว ซึ่งมีทั้งหมด 2 วิธีด้วยกันได้แก่

  1. วิธีดมยาสลบ เป็นวิธีทำหมันแมวที่มีราคาสูงมากกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็มีความปลอดภัยสูงกว่า และทำให้น้องแมวสามารถฟื้นจากอาการเมายาสลบหลังผ่าตัดได้เร็วขึ้น
  2. วิธีฉีดยาสลบ เป็นวิธีที่ราคาถูกกว่าแบบดมยาสลบ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าเช่นกัน

พฤติกรรมแมวหลังทำหมัน

  • พฤติกรรมแมวเพศผู้หลังทำหมัน

การทำหมันแมวเพศผู้เป็นการผ่าตัดเอาท่อนำอสุจิและลูกอัณฑะ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศผู้ออกไป จึงส่งผลให้พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศผู้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในแมวเพศผู้ นั่นคือแต่เดิมเราอาจจะสังเกตว่าแมวเพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์มักจะก้าวร้าว ดุร้าย และทะเลาะวิวาทกับแมวเพศผู้ตัวอื่นที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันจนต่างฝ่ายต่างได้รับบาดเจ็บ การทำหมันแมวเพศผู้จะช่วยให้นิสัยก้าวร้าวเหล่านี้ลดลง นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปตามผลของฮอร์โมนเพศ เช่น พฤติกรรมหนีเที่ยวลดลง พฤติกรรมการขึ้นผสมพันธุ์ (mounting) ลดลง และการปัสสาวะวางอาณาเขต (urine marking) ลดลง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่ลดลงเหล่านี้ ยังส่งผลให้แมวเพศผู้ที่ทำหมันแล้วมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

  • พฤติกรรมแมวเพศเมียหลังทำหมัน

ในแมวเพศเมียที่ทำหมันแล้วนั้น มักพบว่ามีพฤติกรรมติดสัด (heat) ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการส่งเสียงร้อง และอาการบิดตัวไปมาเพื่อเรียกร้องความสนใจจากแมวเพศผู้ นอกจากนี้ยังพบว่าแมวเพศเมียจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัญหาน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจโน้มนำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้

การทำหมันแมว

การดูแลแมวหลังทำหมัน

การทำหมันแมวทั้งแมวเพศผู้และเพศเมีย จะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ส่งผลให้การทำงานของร่างกาย รวมทั้งพฤติกรรมต่างๆ ของแมวเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการดูแลแมวที่ทำหมันแล้วให้มีสุขภาพดีในระยะยาว เจ้าของแมวจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจหลักในการดูแลแมวหลังทำหมันในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • จำกัดบริเวณ

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดทำหมันแมว เจ้าของควรจำกัดบริเวณ เพื่อให้แมวมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด และต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของแมวอย่างใกล้ชิด ไม่ควรให้แมววิ่ง กระโดด หรือปีนป่ายอย่างผาดโผน เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแผลผ่าตัด ทำให้แผลแตกหรือแผลหายช้าได้ โดยควรให้แมวพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพื่อรอให้แผลผ่าตัดได้รับการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์

  • เข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

อันดับแรกคุณต้องเข้าใจว่าแมวที่ทำหมันแล้วอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปได้ เช่น อาจพบว่าแมวหลังทำหมันซึมลง มีพฤติกรรมเฉื่อยชา ไม่ชอบทำกิจกรรม ไม่ชอบออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน แต่ถึงแม้ว่าเราจะสามารถพบพฤติกรรมเหล่านี้ได้ปกติ แต่อย่างไรก็ตามหากเจ้าของไม่สนใจหรือไม่รีบจัดการ อาจส่งผลให้แมวมีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งจะโน้มนำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน ปัญหากระดูกและข้อ นอกจากนี้ยังอาจพบปัญหาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคนิ่ว หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วย

  • สังเกตโรคหรือความผิดปกติ

การทำหมันแมวและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้นเจ้าของแมวจึงต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติของแมวตลอดเวลา โดยหากพบอาการผิดปกติ เช่น ซึม อาเจียน ดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ฯลฯ ควรรีบพาแมวไปตรวจวินิจฉัยกับสัตวแพทย์ทันที

  • กระตุ้นให้แมวออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แมวที่ทำหมันแล้วมีสุขภาพที่แข็งแรง และสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีออกกำลังกายของแมวนั้นอาจไม่ใช่การพาจูงเดิน หรือพาไปวิ่งเล่นเหมือนกับการออกกำลังกายในสุนัข เนื่องจากแมวเป็นสัตว์นักล่า แต่สิ่งที่จะทำให้แมวหันมาสนใจได้ มักจะเป็นของเล่นหรือวัตถุเคลื่อนไหวได้ที่สามารถกระตุ้นให้แมววิ่งไล่ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจลองใช้เชือกมัดกับตุ๊กตาหนู แล้วสะบัดไปมาให้ดูคล้ายกับว่าหนูกำลังหลอกล่ออยู่ อาจใช้ไฟฉายหรือเลเซอร์ส่องไปที่พื้นเพื่อให้แมววิ่งตาม อาจติดตั้งกล่องของเล่นปริศนาที่มีเหยื่อล่อให้แมวตะปบ หรือมีคอนโดแมวให้แมวได้ปีนป่าย เป็นต้น และสิ่งที่เจ้าของควรคำนึงอีกอย่างหนึ่งคือวัสดุที่ใช้ในการทำของเล่นต่างๆ ของแมว ควรเป็นวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายกับแมว เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของแมว

  • เลือกอาหารที่เหมาะสม

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว อาหารยังถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยไม่ให้แมวที่ทำหมันแล้วมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยการเลือกให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับแมวทำหมันโดยเฉพาะ

โภชนาการสำหรับแมวหลังทำหมัน

เนื่องจากแมวที่ทำหมันแล้ว จะมีความต้องการโภชนาการหลังจากการทำหมันแมวที่แตกต่างจากแมวทั่วไป ดังนั้นจึงได้มีสูตรอาหารสำหรับแมวหลังทำหมันโดยเฉพาะ ซึ่งเจ้าของที่เลี้ยงแมวในกลุ่มนี้ควรทราบถึงความต้องการสารอาหารและพลังงาน เพื่อเลือกอาหารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโภชนาการที่สำคัญสำหรับแมวที่ทำหมันแล้ว มีดังนี้

  • ไขมันและโปรตีน

อาหารแมวหลังทำหมันควรเป็นอาหารที่มีพลังงานต่ำ โดยเฉพาะพลังงานจากไขมัน เพื่อลดการสะสมของไขมันในร่างกาย ที่อาจเป็นสาเหตุให้แมวมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยมีผลการศึกษาเปรียบเทียบที่พบว่าแมวกลุ่มที่ทำหมันแล้วที่ได้รับอาหารที่ประกอบด้วยไขมันสูง จะมีน้ำหนักตัวที่มากกว่าแมวกลุ่มที่ทำหมันแล้วที่ได้รับอาหารที่มีไขมันต่ำ (Anton C.,2015) นอกจากนี้ยังควรเลือกอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพดี เช่น โปรตีนจากปลาแซลมอน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้โปรตีนจากเนื้อไก่อีกด้วย

  • คาร์โบไฮเดรต

แมวที่ทำหมันแล้วบางตัวมักมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม หลังจากที่ได้ทำการทำหมันแมวแล้ว แต่ในขณะเดียวกันการทำหมันจะส่งผลให้แมวมีพฤติกรรมเฉื่อยชา และกระบวนการเผาผลาญสารอาหารลดลง จึงทำให้เสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าแมวทั่วไป การให้อาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตชนิดเชิงซ้อนจึงเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งจะช่วยให้อาหารถูกย่อยและดูดซึมช้าลงในทางเดินอาหาร ทำให้แมวได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ช่วยลดความอยากอาหารและควบคุมน้ำหนักในแมวที่ทำหมันแล้วได้

  • วิตามินและแร่ธาตุ

แม้ว่าวิตามินและแร่ธาตุจะเป็นสารอาหารที่แมวต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างให้แมวมีสุขภาพที่แข็งแรง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดการเกิดโรคหรือความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกายได้

  • สารต้านอนุมูลอิสระ

เป็นสารที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะในร่างกาย รวมถึงยังมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย

 

สำหรับคนที่กำลังจะพาน้องแมวไปทำหมันหรือกำลังดูแลแมวที่ทำหมันมาแล้ว นอกจากการทำความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมจากการทำหมันแมวที่เปลี่ยนไป ยังควรดูแลเอาใจใส่แมวอย่างเหมาะสมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านพฤติกรรม ด้านสุขภาพ หรือด้านโภชนาการที่ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อสุขภาพของแมวหลังทำหมันด้วยเช่นกัน จึงโดยควรเลือกอาหารสำหรับแมวที่ทำหมันแล้วโดยเฉพาะ เพื่อให้แมวได้รับคุณค่าสารอาหารและพลังงานตรงกับความต้องการมากที่สุด

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ consultandoajedrez.com

สนับสนุนโดย  ufabet369