อาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เป็นโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย (หรือสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย) ไวรัส หรือ เชื้อปรสิต

อาหารเป็นพิษ ในบางครั้งอาจรวมถึงพิษจากโลหะหนักต่างๆ ด้วย ทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหารที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไปจากหลายๆ ปัจจัย โดยอาการที่มักพบบ่อยได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ เป็นต้น

อาหารเป็นพิษ

อาการ

ลักษณะโรค มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและปวดมวนท้องรุนแรงเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้หนาวสั่นและปวดหัว บางครั้งมีอาการคล้ายเป็นบิด ถ่ายอุจจาระปนเลือดหรือมูก ไข้สูง ตรวจเลือด พบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง

สาเหตุ

– อายุ และโรคประจำตัว เชื้อบางชนิด เช่น Rotavirus ชอบก่อโรคในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเชื่อว่าอาจมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเยื่อเมือกในลำไส้เล็ก สำหรับโรคประจำตัวบางโรคซึ่งมีผลต่อภาวะภูมิต้านทานของร่างกายก็ทำให้เกิดความรุนแรงที่ไม่เท่ากันได้

– สุขอนามัยส่วนบุคคล เนื่องจากการมีสุขอนามัยที่ดีสามารถจำกัดปริมาณเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายไม่ให้ถึงระดับเชื้อที่สามารถก่อโรคได้

– ภาวะกรดในกระเพาะอาหาร และการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร โดยทั่วไปกรดในกระเพาะอาหารจะทำลายเชื้อโรคที่รับประทานเข้าไป รวมถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เป็นปกติจะทำให้กระบวนการกระจายของเชื้อประจำถิ่นในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ รวมถึงส่งผลต่อการทำลายเชื้อโรคอีกด้วย

การป้องกันภาวะอาหารเป็นพิษ

1. เลือกอาหารที่ผ่านการเตรียมเป็นอย่างดี

2. ปรุงอาหารที่สุก

3. ควรกินอาหารที่สุกใหม่ๆ

4. ระมัดระวังอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่าให้มีการปนเปื้อน

5. อาหารที่ค้างมื้อต้องทำให้สุกใหม่ก่อนรับประทาน

6. แยกอาหารดิบและอาหารสุก ให้ระมัดระวังการปนเปื้อน

7. ล้างมือก่อนจับต้องอาหารเข้าสู่ปาก

8. ให้พิถีพิถันเรื่องความสะอาดของห้องครัว

9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์ อื่นๆ

10. ใช้น้ำสะอาด

อาการอย่างไรควรพบแพทย์

– ถ่ายบ่อยปริมาณมากเกิน 6 ครั้งต่อวัน

– ถ่ายหรืออาเจียนมีเลือดปน

– มีไข้สูงลอยมากกว่า 38.5 oC (101.3 oF) หลังผ่านไปหนึ่งวัน

– มีอาการปวดท้องรุนแรงมาก

– ไม่สามารถรับประทานอาหารได้

– มีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง เช่น อายุมากกว่า 70 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เบาหวาน โรคไตเสื่อมเรื้อรัง หรือผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

– มีสัญญาณของร่างกายขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลียมาก หน้ามืด เวียนศีรษะเวลาลุกเปลี่ยนท่า สับสน หมดสติ ปัสสาวะสีเข้มมากหรือปัสสาวะไม่ออกเป็นเวลานานกว่า 6 ชั่วโมง

การรักษาอาการอาหารเป็นพิษ

ผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะอาหารเป็นพิษสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาแบบจำเพาะเจาะจง โดยหลักการของการรักษามุ่งเน้นที่การรักษาสมดุลของสภาวะสารน้ำในร่างกายเป็นสำคัญ เนื่องจากร่างกายมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกไปทั้งทางการถ่ายอุจจาระและอาเจียน ดังนั้นหากผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำผงเกลือแร่เพื่อทดแทนสารน้ำที่ร่างกายสูญเสียออกไปได้อย่างสมดุลอาการมักค่อย ๆ ดีขึ้น และหายได้เองภายใน 3-5 วัน แต่หากผู้ป่วยมีสัญญาณอันตรายที่จำเป็นต้องพบแพทย์ดังกล่าวไว้ข้างต้น เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจได้รับการรักษาด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อทดแทนสารน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป และไม่อาจทดแทนได้อย่างทันท่วงทีด้วยการรับประทานเพียงอย่างเดียว

ที่มา

medparkhospital.com

mordeeapp.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ consultandoajedrez.com