บริจาคเลือด ไม่ได้ หญิงข้ามเพศร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เหตุศูนย์บริการโลหิตฯ ปฏิเสธไม่รับบริจาคโลหิต กสม. เห็นว่า กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศไม่ควรถูกปิดกั้นการบริจาคโลหิตเป็นการถาวร กสม. ให้ศูนย์บริการโลหิตฯ ปรับปรุงใบสมัครผู้รับบริจาคโลหิตและคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต โดยมุ่งเน้นสอบถามลักษณะพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงก่อนบริจาคเลือดสำหรับทุกเพศทุกวัย

บริจาคเลือด ไม่ได้ ร้องเรียน กสม.

กสม.ตรวจสอบกรณีสภากาชาดไทยปฏิเสธรับบริจาคเลือดจากหญิงข้ามเพศ แนะแก้ไขแบบคัดกรองความเสี่ยงที่ไม่ตีตราและจำกัดสิทธิผู้บริจาคที่มีความหลากหลายทางเพศ

นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนธันวาคม 2563 จากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้หญิงข้ามเพศ (transgender) รายหนึ่ง ไปบริจาคโลหิตกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (ผู้ถูกร้อง) เมื่อเดือน ก.ค.2562 แต่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่คัดกรองว่าผู้เสียหายไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ แม้ผู้เสียหายมีใบรับรองผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีที่เป็นลบ

โดยได้รับแจ้งว่าเนื่องจากกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงปฏิเสธที่จะรับบริจาคโลหิตของบุคคลข้ามเพศ กะเทย ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นการถาวรตามระเบียบของสภากาชาดสากล สมาคมฯ เห็นว่าการบริจาคโลหิตควรเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการคัดกรองโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ตีตราบุคคลอันเป็นการจำกัดสิทธิและลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงขอให้ตรวจสอบ

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 27 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR) ข้อ 2 ได้รับรองหลักความเสมอภาคของบุคคล และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา หรือเหตุใดๆ จะกระทำมิได้ โดยที่มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หมายถึง การกระทำหรือไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด

ข้อเท็จจริงการปฏิเสธรับบริจาคเลือด

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เหตุที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตฯ ปฏิเสธที่จะรับบริจาคเลือดของผู้เสียหาย 2 ครั้ง เนื่องจากผู้เสียหายตอบคำถามในแบบฟอร์มคัดกรองการรับบริจาคโลหิตว่า มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงของประวัติด้านเพศสัมพันธ์ที่ศูนย์บริการโลหิตฯ กำหนด และแม้ผู้เสียหายจะตรวจหาเชื้อเอชไอวีอยู่เป็นระยะและมีผลตรวจเป็นลบ แต่อาจอยู่ในระยะเวลาที่เชื้อเอชไอวีมีระดับปริมาณน้อยมาก ทำให้ตรวจไม่พบเชื้อ และแม้ปริมาณเชื้อในระดับน้อยจะไม่สามารถแพร่ผ่านทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่แพร่ทางการรับโลหิต

ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงไม่สามารถนำผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีมาประกอบการรับบริจาคเลือดได้ และงดรับบริจาคเลือดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นการถาวร ทั้งนี้ ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หรือคณะกรรมการ วลพ. แล้ว โดย คณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัยเมื่อเดือน มี.ค.2563 ว่า การปฏิเสธไม่รับบริจาคโลหิตดังกล่าวเข้าลักษณะการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

กสม. เห็นว่า ศูนย์บริการโลหิตฯ ในฐานะที่เป็นธนาคารโลหิตแห่งชาติ มีหน้าที่อยู่บนหลักความรับผิดชอบสูงสุดที่จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานและความปลอดภัยของโลหิตที่จะนำไปรักษาผู้ป่วยเป็นประการสำคัญที่สุด รวมทั้งต้องสร้างสภาวะที่ประกันการบริการทางการแพทย์และการดูแลรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงเป็นเหตุให้ศูนย์บริการโลหิตฯ ปฏิเสธไม่รับบริจาคเลือดของผู้เสียหาย

เนื่องจากผู้เสียหายได้ตอบแบบสอบถามการคัดกรองว่ามีประวัติการมีเพศสัมพันธ์กับชายเพศเดียวกัน อย่างไรก็ดี การสอบถามประวัติด้านเพศสัมพันธ์สำหรับทุกคน ควรมุ่งถามถึงลักษณะพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงรายบุคคล เช่น การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก การไม่ใช้ถุงยางอนามัย ในกรณีที่มิใช่คู่ของตน เป็นต้น โดยไม่มีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับกลุ่มประชากรหลักที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ ลักษณะคำถามที่ถามประวัติด้านเพศสัมพันธ์ของชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับชาย อาจเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อการสื่อสาร ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นการตีตรากลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ และสุ่มเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งสภาพบุคคล ซึ่งอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน

บุคคลข้ามเพศไม่ควรถูกปิดกั้นการบริจาคเลือด

กสม. เห็นว่า กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศไม่ควรถูกปิดกั้นการบริจาคเลือดเป็นการถาวรอัน เนื่องมาจากการประเมินความเสี่ยงด้วยฐานข้อมูลสถิติกลุ่มประชากร หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยทราบว่า ขณะนี้ ศูนย์บริการโลหิตฯ อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผ่านโลหิตของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและศึกษาช่วงเวลางด/เลื่อนการบริจาคโลหิต (deferral period) ที่ปลอดภัยสำหรับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายผู้มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวจะนำมาปรับใช้เป็นนถามในการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงในการรับบริจาคเลือดเป็นรายบุคคลให้สอดคล้องกับแนวทางการคัดกรองการรับบริจาคเลือดขององค์การอนามัยโลกได้

ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สรุปได้ดังนี้ ให้ศูนย์บริการโลหิตฯ ปรับปรุงใบสมัครผู้รับบริจาคเลือดและคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคเลือด โดยมุ่งเน้นสอบถามลักษณะพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสำหรับทุกเพศทุกวัย และหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีตามฐานข้อมูลสถิติกลุ่มประชากร รวมถึงกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มอาชีพ นอกจากนี้ให้เร่งรัดการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดช่วงเวลางด/เลื่อนการบริจาคโลหิต (deferral period) ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และนำผลการศึกษาวิจัยมาใช้ประกอบการพิจารณาผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศให้สามารถบริจาคเลือดได้ภายใต้เงื่อนไขการกำหนดระยะเวลารอคอย

บริจาคเลือด

คุณสมบัติผู้บริจาคเลือด

1. อายุ 17 ปีบริบูรณ์ -70 ปี สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด

  • ผู้บริจาคเลือดต้องมีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง แต่อายุ 18 ปี สามารถตัดสินใจบริจาคโลหิตได้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับการมีสิทธิเลือกตั้ง
  • ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี และบริจาคต่อเนื่องมาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 3 เดือน ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยเคลื่อนที่ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
  • ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 65 -70 ปี และบริจาคต่อเนื่องมาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 6 เดือน  และต้องมีการตรวจนับจำนวนของเม็ดเลือดทุกชนิดทุกครั้ง ไม่รับบริจาคในหน่วยเคลื่อนที่

2. สุขภาพแข็งแรง และพักผ่อนเพียงพอ

3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก่อนบริจาคเลือด

4. การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

  • โลหิตของหญิงตั้งครรภ์ มีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับทารกในครรภ์ ควรเก็บโลหิตของตนเองเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับทารก และเพื่อเป็นโลหิตสำรองในร่างกาย เพราะขณะคลอดบุตรอาจมีการเสียโลหิตเป็นจำนวนมากการบริจาคเลือดอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ในข้อนี้ ถ้าตอบ “ใช่” ให้งดบริจาคโลหิตชั่วคราว
  • ผู้บริจาคหญิงที่กำลังให้นมบุตร ต้องการสารอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ผลิตเป็นน้ำนม และอาจต้องมีการตื่นบ่อยครั้งเพื่อให้นมบุตร เป็นผลทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ถ้าตอบ “ใช่” งดบริจาคโลหิตชั่วคราว

5. สตรีอยู่ระหว่างมีประจำเดือน

6. การสักหรือการเจาะผิวหนัง

7. ท้องเสีย ท้องร่วง ควรงดบริจาคเลือด 7 วัน

8. น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา

9. ผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ หรือผ่าตัดเล็ก

10.ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน ต้องเว้นอย่างน้อย 3 วัน

11. เคยมีประวัติติดยาเสพติดหรือเพิ่งพ้นโทษในระยะ 3 ปี

12. เดินทางหรือพำนักในพื้นที่ที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือเคยป่วยเป็น โรคมาลาเรียในระยะ 3 ปี

13. มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

14. ผู้บริจาคที่เคยได้รับโลหิตจากผู้บริจาคในประเทศอังกฤษหรือเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ ระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2539 หรือเคยพำนักในทวีปยุโรป รวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523- ปัจจุบัน

15. การรับประทานยาแก้ปวด

16. กรณีที่ผู้บริจาคเลือดรับประทานยาปฏิชีวนะ (แก้อักเสบจากการติดเชื้อ)

17. เคยเป็นโรคตับอักเสบ

18. ผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วย

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ consultandoajedrez.com

สนับสนุนโดย  ufabet369